Pressure Diaphragm Tank / Pressure Tank
หน้าที่ของถังควบคุมแรงดัน หรือ “ Pressure Diaphragm Tank ” นั้นคือกักเก็บน้ำและรักษาแรงดันในระบบปั๊มรวมถึงระบบท่อประปาที่ต่อจากปั๊ม เพื่อให้ปั๊มมีจังหวะทำงานที่สม่ำเสมอมีแรงดันในระบบท่อเกือบจะคงที่หรือสวิงน้อยที่สุดตามที่ชุดปั๊มนั้น ๆ ตั้งค่าแรงดันตามที่ต้องการเอาไว้ รูปแบบของถังแรงดันมีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้จะเป็นลักษณะของถังทรงสูงวัสดุภายนอกเป็นเหล็กและวัสดุไส้ยางด้านในเป็นชนิด EPDM ซึ่งมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้รับการรับรอง ถังไดอะแฟรม หรือ Pressure Tank นั้นในประเทศไทยมีให้เลือกใช้อยู่หลายยี่ห้อทั้งสินค้านำเข้าหรือผลิตในประเทศเอง
หลักการทำงาน ตัวถังภายในจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือเปลือกถัง และไส้ยางที่อยู่ภายในถัง
- ภายนอกของถัง
ต้องเติมลมให้ได้ค่าแรงดันตามที่ผู้จัดจำหน่ายแจ้งไว้ เนื่องจากถังแรงดันสามารถนำไปใช้กับระบบปั๊มที่มี
แรงดันหลายช่วงการเติมลมจึงไม่เท่ากันเสมอไปครับ
- ไส้ยางภายในถัง
ไส้ยางไดอะแฟรม ภายในถังจะมีหน้ารับน้ำ จ่ายน้ำอยู่ตลอดเวลาตัวไส้ยางจะยืดหดหรือ บีบ ขยาย ตัวอยู่ตลอด

ปัญหาที่พบเจอบ่อยที่สุด
ถังแรงดันไม่มีลมเลย / ไส้ยางด้านในขาด 2 ปัญหานี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับลูกค้าที่พบว่าการทำงานของปั๊มผิดปกติ หรือไม่ก็จะเจอเรื่องความไม่สม่ำเสมอของแรงดันน้ำที่ใช้งาน ถึงจะมาตรวจสอบลมในถังแรงดัน บางครั้งก็สายไปแล้วเนื่องจากไส้ยางภายในเกิดความเสียหายไปแล้ว ต้องซ่อมแซมแก้ไข

การบำรุงรักษาเบื้องต้น
การบำรุงรักษาถังลมหรือถังแรงดันนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง ด้วยการหมั่นตรวจเช็คลมเป็นประจำตามคำแนะนำของผู้จัดจำหน่าย
กรณีที่มีการใช้น้ำอยู่ตลอดเวลา เช่น โรงพยาบาล , คอนโด , ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น จะต้องหมั่นเช็คแรงดันลมถี่มากกว่าปกติ โดยประมาณ 1-2 สัปดาห์ / ครั้ง เนื่องจากบริเวณจุดเติมลมของถังเป็นเพียงศรเติมลมที่พบได้ทั่วไป ซึ่งสามารถซึมได้อยู่
ส่วน กรณีที่มีการใช้น้ำเป็นช่วง ๆ ไม่ถี่มาก เช่น บ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นต้น สามารถยืดระยะเวลาการตรวจสอบออกไปได้ โดยความถี่อาจจะเป็น 1 เดือน / ครั้ง ทั้งนี้อยู่ที่คำแนะนำของผู้จัดจำหน่ายนั้น ๆ
