มาทำความรู้จัก Submersible pump กัน

มาทำความรู้จัก Submersible pump กัน

            ปั๊มซับเมอร์ส (Submersible pump) ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ ปั๊มน้ำเสีย หรือที่คนทั่วไปเรียก ปั๊มไดโว่ ซึ่งอาจที่มาจากชื่อยี่ห้อปั๊มน้ำ Divo ที่เคยขายในประเทศไทย แล้วคนเรียกกันจนติดปาก

            Submersible pump เป็น เครื่องสูบน้ำที่ใช้งานส่วนใหญ่กับน้ำเสีย หรือการสูบระบายน้ำ มีใช้ในการสูบน้ำดีบ้าง เช่น ปั๊มบาดาล โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงปั๊มน้ำเสีย ที่ใช้งานเพื่อสูบระบายน้ำ หรือสูบน้ำเพื่อทำการบำบัดน้ำเสีย ประเภท Drainage pump หรือ Sewage pump

            CASING



วัสดุโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ใช้งานในประเภทไทย จะแบ่งได้สามประเภท ดังนี้

  • เหล็กหล่อ (CAST IRON) เน้นใช้งานเพื่อความทนทานต่อการกระแทกและเสียดสีของส่งปฏิกูลในน้ำ
  • พลาสติกเสิมแรง ประเภท Glass Fiber Reinforced Resin เน้นใช้งานกับน้ำที่มีการกัดกร่อน ที่ไม่ต้องการวัสดุที่เป็นเหล็กหล่อ ปั๊มมีราคาไม่สูง และน้ำหนักเบา ง่ายต่อการบำรุงรักษา
  • สแตนเลส (Stainless Steel) เป็นปั๊มที่มีราคาค่อนข้างสูง เน้นการใช้งานสำหรับน้ำที่มีการกัดกร่อน มีความคงทนแข็งแรงสูง อายุการใช้งานนาน

IMPELLER

ใบพัด (IMPELLER)  ที่ใช้งานโดยส่วนใหญ่ สามารถแบ่งประเภทของใบพัดออกได้ 4 ประเภท ดังนี้

1. VORTEX








ใบพัดถูกออกแบบมาคล้ายกับใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi Open Type) แต่มีพื้นที่ว่างระหว่างครีบมากกว่า ในขณะที่ปั๊มทำงาน โดยใบพัดจะสร้างให้เกิดน้ำวน และแรงหนีศูนย์กลางระหว่างใบพัดกับตัวเรือนปั๊ม ทำให้ตะกอนที่สูบผ่านได้มีขนาดใหญ่ขึ้นถูกดูดผ่าน ช่วยลดปัญหาการอุดตันของใบพัดได้

2. CHANNEL


เป็นใบพัดที่มีลักษณะเป็นใบพัดเดี่ยวแบบแนวทแยง (Diagonal Single-Vane)   เป็นใบพัดที่มีโครงสร้างช่วยให้ตัวปั๊มแช่สามารถสูบตะกอนจากทางน้ำเข้าไปยังทางน้ำได้ดี เพื่อให้เกิดการอุดตันน้อย เนื่องจากมีค่า Solid Passage ที่ค่อนข้างสูง

3. CUTTER








เป็นใบพัดที่มีลักษณะเป็นใบมีด Semi-Open หรือ แบบกึ่งเปิด เป็นใบพัดที่มีคุณสมบัติที่ช่วยในเรื่อง การตัดวัตถุที่มีลักษณะเป็นเส้นใยได้ เหมาะสำหรับงานน้ำเสียที่มีตะกอนเป็นจำนวนมาก และงานน้ำเสียที่มีเศษเส้นใยเจือปน เพื่อไม่ให้ไหลเข้าไปอุดตันในตัวปั๊ม

MOTOR

        มอเตอร์ของปั๊มน้ำ มีขนาดเล็กสุดอยู่ที่ 0.15 KW ไปจนถึงขนาดมากกว่า 55 KW ขึ้นไป รอบของมอเตอร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบคือ 2 Pole (3000 rpm) กับ 4 Pole (1500 rpm) โดยแบบ 6 pole ขึ้นไปจะมีใช้บ้าง แต่อยู่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจาก รอบของมอเตอร์ที่ต่ำกว่าแบบ 2 pole จะอยู่ในปั๊มที่มีขนาดท่อค่อนข้างใหญ่ เน้นปริมาณอัตราการไหลที่สูง

Shopping Cart